วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

electrical

สามารถสั่งชื้ออุปกรณ์ไฟฟ้า electrical ได้ที่ บริษัท www.compomax.co.th 


trical Components


Contactors


Motor Control Center

Motor Control Center

Supressors

Supressors


terminal block



สามารถสั่งชื้ออุปกรณ์ไฟฟ้า electrical ได้ที่ บริษัท www.compomax.co.th 

Load Cell

สามารถสั่งชื้อ sensor ได้ที่ บริษัท www.compomax.co.th


เราได้รู้กันมาแล้วว่า Load cell คืออุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าแรง หรือน้ำหนักที่กระทำกับ Load cell โดยที่ Load cell จะเปลี่ยนแรงหรือน้ำหนักให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (mV/V) ซึ่งจะมีทั้งแบบ 1, 2, 3 mV/V แต่ในบ้านเราที่มีใช้กันอยู่ส่วนใหญ่จะเป็นแบบ 2mV/V หรือ 3mV/V
1. การเสียหายของ Load cell
คือการที่ Load cell ไม่สามารถวัดค่าได้ หรือวัดค่าไม่ได้ไม่ตรงโดยสัญญาณเอาท์พุทที่ส่งออกมาสูงเกินไป Overload หรือสัญญาณเอาท์พุทที่จ่ายออกมาไม่นิ่ง
2. อาการผิดปกติของ Load cell
2.1 Overload
การที่สัญญาณเอาท์พุทที่จ่ายออกจาก Load cell มีค่ามากเกินกว่า Rang output ของ Load cell ที่มีเอาท์พุท 2mV/V ใช้ Excitation 10VDC จะต้องมีเอาท์พุทไม่เกิน 20 mV ซึ่งอาการนี้จะทำให้ Controller ที่รับสัญญาณ จาก Load cell ไม่สามารถอ่านค่าได้ หรือ หน้าจอแสดง OL
2.2 Drifting output
สัญญาณเอาท์พุทที่ส่งออกมาจาก Load cell ไม่นิ่งในขณะที่มีน้ำหนัก หรือไม่มีน้ำหนักกดอยู่ก็ตาม(ไม่มีแรงสั่นสะเทือน) ซึ่งอาการนี้จะทำให้ Controller อ่านค่าไม่ตรงตัวเลขวิ่งไปวิ่งมา
2.3 Non-repeatability problem
คือ หลังจากที่เอาน้ำหนักออกแล้วน้ำหนักที่หน้าจอ Controller ไม่กลับไปที่ศูนย์สัญญาณไม่กลับไปที่เดิม ซึ่งอาการนี้จะทำให้ค่าน้ำหนักที่ชั่งหรือแรงที่กดในแต่ละครั้งไม่มีความแม่นยำ
2.4 Negative voltage output
คือ การที่สัญญาณเอาท์พุทที่จ่ายออกมาจาก Load cell มีค่าเป็นลบ ซึ่งอาการนี้จะทำให้ Controller อ่านค่าน้ำหนักเป็นลบ หรือ Controller บางยี่ห้อที่รับสัญญาณอินพุทเป็นบวกเท่านั้นจะไม่สามารถอ่านค่าน้ำหนักได้หรือหน้าจออาจจะแสดง Error
“วิธีการป้องกันไม่ให้ Load Cell เสียหาย”
2.5 No output
คือ การที่ไม่มีสัญญาณเอาท์พุทออกมาจากตัว Load cell ซึ่งอาการนี้จะทำให้ Controller ไม่สามารถอ่านค่าน้ำหนักได้
3. สาเหตุที่ทำให้ Load Cell เสีย
3.1 Over Weighing (Overload)
- การใช้น้ำหนัก หรือแรงกด เกินพิกัดของ Load cell
- การที่มีแรงกระแทกลงบน Load cell เกินพิกัดของ Load cell
3.2 Humidity, Noise (Drifting output)
การที่มีความชื้นในสาย Load cell หรือ Summing box การที่มีสัญญาณรบกวนเข้ามาในสาย Load cell เกิดจากการเดินสาย Load cell ใกล้สาย Power
3.3 Mechanical error (Non-repeatability problem)
การติดตั้ง Load cell ไม่สมดุล การที่มีโครงสร้างค้ำยัน หรือท่อที่มาต่อกับถัง แข็งเกินไปไม่สามารถให้ตัวได้
3.4 Mistake installation or mistake wiring (Negative voltage output)
-การติดตั้ง Load cell ในทิศทางกลับกัน
-การต่อสายสัญญาณสลับกัน

3.5 Electric welding and Lightning (No output)
การเชื่อมโครงสร้างด้วยการเชื่อมไฟฟ้าโดยที่มี Load cell ติดตั้งอยู่ การเกิดฟ้าผ่า
  1. 4.   การป้องกัน Load cell ไม่ให้เสียหาย
4.1 Design
ออกแบบและเลือกขนาดพิกัดของ Load cell ให้ถูกต้อง และเหมาะสม ถ้าเลือกพิกัดน้อยเกินไป โอกาสที่น้ำหนักจะเกินและสร้างความเสียหายแก่ Load cell มีสูง แต่ถ้าเลือกพิกัดมากเกินไป ก็จะทำให้ความละเอียดน้อยลง ค่าน้ำหนักมีโอกาสผิดพลาดมากขึ้น ดังนั้นในการออกแบบ ติดตั้ง Load cell จึงควรปรึกษาผู้ขายที่มีความรู้เกี่ยวกับ Load cell เพื่อที่จะได้เลือกใช้งาน Load cell ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
4.2 Electrical installation
การติดตั้งอุปกรณ์ Summing box ควรติดตั้งในที่ๆ ไม่มีฝนสาดหรือเลือกอุปกรณ์ที่มีการ Seal อย่างดี สามารถกันน้ำได้ดี ควรหลีกเลี่ยงการเดินสายสัญญาณ Load cell  ใกล้กับสาย Power เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนที่มาจากสาย Power
4.3 Mechanical installation
การติดตั้ง Load cell จะต้องสมดุลกันทุกจุด กรณีที่มีการต่อท่อเข้ากับตัวถังจะต้องเป็นท่ออ่อนที่สามารถให้ตัวได้เพื่อให้ถังเป็นอิสระ ไม่มีอะไรมาค้ำยัน
4.4 Load cell installation and wiring
การติดตั้ง Load cell ควรติดตั้งให้ถูกทิศทางซึ่งจะลูกศรบอกทิศทางที่ตัว Load cell หรือคู่มือ การต่อสาย Load cell เข้ากับ Controller จะต้องต่อให้ถูกขั้วตาม code สี ของแต่ละยี่ห้อ
4.5 Shield and Lightning arrester
ควรติดตั้งสาย Shield ระหว่าง Mounting บนและล่างของ Load cell เพื่อเป็นการ Bypass กระแสไฟฟ้าที่เกิดจากการเชื่อมเพื่อป้องกัน Load cell ไม่ไห้เกิดความเสียหาย

จากที่ได้กล่าวมานี้คงจะทำให้ทุกท่าน ได้ทราบถึงสาเหตุการเสียของ Load cell ว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใดได้บ้าง และทราบถึงวิธีการป้องกันว่าจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้เราสามารถใช้งาน Load cell ได้ยาวนานที่สุดและไม่มีปัญหานะครับ

พบกันคราวหน้าจะกล่าวถึงการตรวจสอบ Load cell เบื้องต้นและการนำ Load cell  ไปใช้งานร่วมกับมิเตอร์ยอดอัจฉริยะของ Red Lion Controls “PAXS”
แต่ถ้าท่านต้องการรายละเอียดรวมถึงการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ Load cell และปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ท่านสามารถติดต่อมาได้ที่แผนก Process Instrument บริษัท คอมโพแม็ก จำกัด ซึ่งเรามีทีมงานที่มีประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาหรือนัดพบท่านเพื่อเข้าไปดูหน้างาน หรือนำอุปกรณ์ไปทดสอบเบื้องต้น
คุณเคยรู้หรือไม่ ว่าทำไม Load Cell จึงเสีย
เราได้รู้จักกันแล้วว่า Load Cell คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไรและมีชนิดอะไรบ้าง ในบทความฉบับนี้ผมจะกล่าวถึง
1. การเสียหายของ Load cell
2. อาการผิดปกติของ Load cell
3. สาเหตุที่ทำให้ Load cell
4. การป้องกันไม่ให้ Load cell เสียหาย

สามารถสั่งชื้อ sensor ได้ที่ บริษัท www.compomax.co.th

มารู้จัก Ultrasonics กันดีกว่า

สามารถสั่งชื้อ sensor ได้ที่ บริษัท www.compomax.co.th

compomax, ultrasonic sensors
มารู้จัก Ultrasonics กันดีกว่า
เสียงเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง จะอยู่ในรูปคลื่น และคลื่นเสียงเป็นคลื่นตามยาว (Longitudinal Wave) ซึ่งเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ จะเดินผ่านตัวกลางทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลวหรืออากาศ (แต่จะไม่มีการเคลื่อนที่ในสุญญากาศ) การเคลื่อนที่ของเสียงเป็นการเคลื่อนที่แบบคลื่น (Traveling Wave) ในการได้ยินของคนเรานั้น ต้องมีต้นกำเนิดเสียงตัวกลางที่จะนำเสียง และหูที่เป็นเครื่องรับเสียง
  • ความถี่ของคลื่นเสียงที่มนุษย์ได้ยินจะอยู่ 20-20,000 Hz ถ้าต่ำกว่านี้หรือสูงกว่านี้ มนุษย์จะไม่สามารถได้ยินเสียงนั้นได้
  • คลื่นเสียงที่มีความถี่ต่ำมากๆ  ต่ำกว่า 20 Hz เราเรียกว่า “คลื่นอินฟราโซนิค” (Infrasonic) หรือ คลื่นใต้เสียง
  • คลื่นที่ความถี่สูงมากๆ สูงกว่า 20,000 Hz เรียกว่า “คลื่น อุลตร้าโซนิค”(Ultrasonic) หรือคลื่นเหนือเสียง
  • และมีเสียงมากมายที่เราไม่ได้ยินซี่งเราเรียกเสียงประเภทนี้ว่า “อุลตร้าซาวนด์”
เนื่องจากผลและปฎิกิริยาของเสียงเหล่านี้ทำให้เรารับรู้ถึงการมีอยู่ของมัน อนึ่งอุลตร้าซาวนด์ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์และอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลายอุปกรณ์ Sensor ที่ใช้ระบบ Ultrasonics ในการวัด
-                    สุนัข สามารถสร้างความถี่ระหว่าง 425-1800 Hz และสามารถรับฟังเสียงที่มีความถี่ 15-50000 Hz
-                    แมว สามารถสร้างความถี่ระหว่าง 760-1500 Hz และสามารถรับฟังเสียงที่มีความถี่ 15150-150000 Hz
-                    ค้างคาว สามารถสร้างความถี่ระหว่าง 10-12000 Hz และสามารถรับฟังเสียงที่มีความถี่15150-150000 Hz

  • ดังที่กล่าวมาแล้วมนุษย์จะได้ยินเสียงในย่านความถี่ตั้งแต่ 20-20,000 Hz ดังนั้นค่าพลังงานคลื่น หรือ Sonic energy ที่มีค่าสูงกว่า 20 KHz จึงเรียกว่า Ultrasound ซึ่ง Ultrasound จะเป็นคลื่นที่มีขนาดความยาวคลื่น wavelengths สั้นมากๆ
Higher Frequency transducers
  • จะมีขนาดของ beams ที่เล็กกว่า
  • จะมีความละเอียด resolution ดีกว่า
  • สามารถนำคลื่นได้เร็วกว่า
ดังนั้น ในการนำไปประยุกต์ใช้งานสำหรับเซ็นเซอร์ประเภทนี้ จึงมีข้อแตกต่างกันในแต่ละช่วงการใช้งานดังกล่าวข้างต้น
  • Ultrasonic Transducer ทำงานอย่างไร
  • ความเร็วของคลื่นเสียงในอากาศขึ้นอยู่กับ
-                    จำนวนโมเลกุลของตัวกลาง
-                    มวลรวมของโมเลกุลตัวกลาง
-                    พลังงานโมเลกุลของตัวกลาง
-                    Cair = 49
  • การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ มีผลอย่างไร
  • ความเร็วของเสียงจะเปลี่ยนทุกๆ 1% ต่อ 10 F (1.8% per 10 C)
  • Temperature compensation สามารถลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ แต่จะได้ประมาณ 1/3
  • ผล Temperature compensation จะได้ถูกต้อง หากอุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • Ultrasonice Sensors Measure Time of Flight
ดังนั้นเซ็นเซอร์แบบอุลตร้าโซนิค จึงใช้หลักการตรวจสอบเวลาของคลื่นที่เดินทางในตัวกลาง โดยดูเวลาของคลื่นตั้งแต่เริ่มส่งจนกระทั่งคลื่นลูกเดิมถูกส่งกลับมา เป็นต้น
ดังนั้นความเร็วในการตอบสนอง (Response Speed) จะถูกลิมิตโดยความเร็วของเสียง (Speed of Sound)
  • Speed of sound = 1100 ft/s = 1ft/ms
  • Frequently asked : Can I have an ultrasonic sensor with a foot range and 5 ms response?
  • 3.4 m/ms

Sensors

สามารถสั่งชื้อ sensor ได้ที่ บริษัท www.compomax.co.th




เซนเซอร์(Sensor)
เซนเซอร์(Sensor) คือ อุปกรณ์ตรวจจับที่มีอยู่หลากหลายประเภทซึ่งเป็น
1. เซนเซอร์ตรวจจับวัตถุ (Distance Sensor) เช่น Limit Switch, Proximity Switch ,Photo  Sensor, Magnetic Sensor)
2. เซนเซอร์ตรวจวัดระดับ(Level Sensor) เช่น Encoder, Ultrasonic Sensor, Level Sensor, Linear Transducers,)
3. เซนเซอร์วัดอัตราการไหล(Flow Sensor)
4. เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ(Temperature Sensor)
5. เซนเซอร์วัดแรงดัน(Pressure Sensor)
6. เซนเซอร์วัดน้ำหนัก(Load Cell)
7. เซนเซอร์วัดพื้นที่ (Area Sensor) เช่น Mini Array, Light Screen




สามารถสั่งชื้อ sensor ได้ที่ บริษัท www.compomax.co.th